การประเมินเจตคติเป็นวิธีการประเมินคุณลักษณะแผงที่อยู่ในตัวของบุคคลในด้านจิตใจและความรู้สึก ได้แก่ ความสนใจ คุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ โดยลักษณะสำคัญของเจตคตินั้นจะต้องเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล มีแนวทางการแสดงความคิดความรู้สึกไปในทิศทางบวกหรือลบ และมีระดับมากหรือน้อยของความรู้สึก โดยการวัดและประเมินผลจะเป็นลำดับขั้นจากต่ำสุดไปสูงสุดดังนี้
- ขั้นรับรู้ (Receiving) เป็นการประเมินพฤติกรรมที่แสดงออกว่าได้รู้ ได้เห็น จดจำในสิ่งที่ได้รับการสัมผัสจากจากประสาทสัมผัส (เพียงแค่รู้)
- ขั้นตอบสนอง (Responding) เป็นการประเมินพฤติกรรมที่แสดงว่ามีจิตใจจดจ่อ สนใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมตอบสนองต่อเรื่องนั้น อาสาพอใจที่จะทำ (เริ่มแสดงออกให้เห็น)
- ขั้นเห็นคุณค่า (Valuing) เป็นการประเมินพฤติกรรมที่แสดงออกว่ารู้คุณค่าของสิ่งนั้นโดยการกระทำหรือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ยกย่องชมเชย สนับสนุนช่วยเหลือ หรือทำกิจกรรมที่ตรงกับความเชื่อของตน ทำด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธา และปฏิเสธที่จะกระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อของตน (การให้ความสำคัญและเข้าร่วม)
- ขั้นจัดระบบคุณค่า (Organization of a value) เป็นการประเมินพฤติกรรมการจัดระบบคุณค่าหรือค่านิยมต่าง ๆ ให้อยู่เป็นกลุ่ม อาจจัดตามความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือจัดเอาคุณค่าที่เด่นมากที่สุด โดยผสานเอาค่านิยมเล็ก ๆ ย่อย ๆ มาสัมพันธ์กัน จนเกิดอุดมการณ์ในความคิดของตน (ก่อตัวเป็นระบบความคิด)
- ขั้นสร้างคุณลักษณะ (Characterization of a value) เป็นการประเมินพฤติกรรมในการสั่งสมความรู้สึกจนยึดถือเป็นลักษณะนิสัย เป็นแนวทางความเชื่อศรัทธา แนวปรัชญาชีวิต มีลักษณะเป็นส่วนตัวเป็นอัตลักษณ์และเป็นบุคลิกภาพ โดยมีแนวโน้มที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นอยู่เสมอในสถานการณ์เดียวกัน (คงอยู่ถวาร)
วิธีการวัดและประเมินเจตคตินั้นมีการแบ่งโดยใช้เกณฑ์หลายประเภท โดยในที่นี้เสนอ 2 ประเภท ได้แก่ จำแนกตามประเภทของผู้ทำการประเมิน และจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
- การจำแนกตามประเภทของผู้ทำการประเมิน
- การประเมินตนเอง เป็นการให้ผู้ถูกประเมินตรวจสอบตัดสินตัวเองตามรายการที่กำหนด มีข้อดีคือผู้ประเมินเป็นผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง ข้อจำกัดคือผู้ประเมินมักเข้าข้างตนเองเมื่อเป็นการประเมินที่เกี่ยวข้องกับรางวัลหรือผลตอบแทน
- การให้ผู้อื่นประเมิน เป็นการใหผู้อื่นประเมินในลักษณะของการวิพากษ์ การอภิปราย ทำให้ไม่เกิดความลำเอียงเข้าข้างตนเอง ทั้งนี้ผู้ประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจ ประเมินด้วยเหตุผลโดยใช้เกณฑ์ในการประเมิน สามารถหาจุดแข็งเพื่อเป็นกำลังใจ และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ถูกประเมินเพื่อการปรับปรุง
- การจำแนกตามวิธีการสังเกต
- การสังเกต โดยผู้สอนสังเกตการปบัติตนของผู้เรียนในประเด็นที่ได้กำหนดไว้
- การใช้มาตรประมาณค่า เป็นการวัดระดับความรู้สึกของผู้เรียนตามระดับความเข้มที่แตกต่างกัน
- การซักถาม/การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยโดยตรง ทำให้ได้ข้อมูลรายละเอียดและมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้น แต่ใช้ระยะยเวลานานเมื่อใช้กับผู้เรียนหลายคน
- การใช้แบบวัดสถานการณ์ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้โดยตรงหรือเมื่อผู้วัดไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคยกับนักเรียน เป็นการวัดแนวโน้มเชิงพฤติกรรม ทั้งนี้ควรวัดโดยใช้สถานการณ์เพื่อวัดความจริงใจในการตอบ
- การทำแฟ้มสะสมผลงาน เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพจริง ซึ่งวัดได้ทั้งพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยใช้ข้อมูลของผู้เรียนตามความเป็นจริง เห็นความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนสะท้อนผ่านผลงาน แต่หากใช้มากเกินไปอาจเป็นการสร้างเอกสารนที่ไม่ตรงตามสภาพความเป็นจริง
อย่างไรก็ตามการวัดและประเมินเจตคติ ผู้สอนควรใช้การสังเกตพฤติกรรมการปฏิเสธเป็นหลัก โดยการสังเกตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งมีการบันทึกผลการสังเกต โดยอาขใช้เครื่องมือประกอบ เช่น แบบประเมินค่า แบบตรวจสอบรายการ แบบบันทึกพฤติกรรม แบบรายงานพฤติกรรมตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้อาจใช้แบบวัดเตคติเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมได้
การประเมินเจตคติสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางในการเรียนการสอน ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์มีมากมายและหลากหลาย ผู้สอนสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม ได้แก่ Answergarden, mentimeter โดยมีรายละเอียดดังนี้
- AnswerGarden เป็นเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการระดมความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะแบบออนไลน์ เพื่อการมีส่วนร่วมใน การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ร่วมกัน มีจุดเด่น คือ ง่ายต่อการใช้งาน สามารถตั้งประเด็นคำถาม หรือหัวข้อที่ต้องการสำรวจความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องทำการสมัครหรือลงทะเบียนเข้าใช้งานรวมทั้ง ระบบสามารถรองรับคำตอบหรือความคิดเห็นได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รูปแบบการแสดงความคิดเห็นนั้นจะแสดงผล ออกมาเป็น word cloud ของคำตอบทั้งหมดแบบเรียลไทม์ โดยตัวอักษรของแต่ละข้อความจะมีขนาดเล็กใหญ่ แตกต่างกันตามความนิยมและความถี่ของข้อความนั้นๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแต่ละความคิดเห็นึ่งช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นถึงลำดับเรื่องและ Keywords ที่สำคัญ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพิ่มเติม หรือนำไปใช้การอภิปรายกลุ่มได้ทันที
- Mentimeter เป็นแอพพลิเคชันสำหรับให้นักเรียนสามารถตอบคำถามที่ครูตั้งขึ้นเป็นลักษณะของพิมพ์คำตอบ โดยจุดเด่นของแอปพลิเคชัน นี้คือจะมีการรวบรวมคำตอบของนักเรียน แสดงผลบนหน้าจอ โดยคำตอบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็จะมีตัวอักษรใหญ่ขึ้นและโดดเด่นที่สุด ส่วนคำตอบที่ได้รับความนิยมรองลงมา ก็จะมีขนาดลดหลั่นกันลงมาเป็นลำดับ