Digital Tools

Three Step Interviews

การเรียนรู้ด้วยการสัมภาษณ์แบบ 3 ขั้นตอน

  • นิยามและความสำคัญ

การเรียนรู้ด้วยการสัมภาษณ์แบบ 3 ขั้นตอน (Three Step Interviews) เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วยการถามคำถาม การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปก่อนหน้า รวมถึงกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์เพื่อสร้างคำถาม ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ข้อสังเกต และเรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี ผ่านการเป็นผู้ถามและผู้ตอบด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยการสัมภาษณ์แบบ 3 ขั้นตอน (Three Step Interviews) ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและผูกพันกับการเรียนรู้ เข้าใจเนื้อหาที่กำลังเรียนรู้เพิ่มเติม เนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้สลับบทบาทในการเป็นผู้พูดและผู้ฟัง ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกันเอง ในขณะเดียวกันช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดตั้งคำถาม การคิดหาคำตอบ ทักษะการสื่อสารด้วยวจนะภาษาและอวจนะภาษา

  • กระบวนการจัดการเรียนรู้

การเตรียมความพร้อม

          ผู้สอน

  1. ผู้สอนเตรียมประเด็นการสัมภาษณ์ โดยควรเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังเรียนรู้ หรือประเด็นที่ผู้เรียนกำลังสนใจ
    1. ผู้สอนเตรียมช่องทางการสัมภาษณ์แบบชั่วคราว โดยตั้งค่า Breakout Room ทั้งจำนวนห้อง เวลา และคำชี้แจงการปฏิบัติของผู้เรียนในแต่ละขั้นตอน

          ผู้เรียน

ผู้สอนให้ผู้เรียนทบทวนประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้

          การจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดบทบาท

  1. ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะกิจกรรม บทบาทหน้าที่ของผู้เรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม และซักถามความเข้าใจของผู้เรียน
    1. ผู้สอนเปิดห้อง Breakout Room เพื่อสุ่มผู้เรียน 3 คน เข้าห้อง Breakout Room จากนั้นผู้เรียนทั้ง 3 คน ตกลงบทบาทในแต่ละขั้นตอน ประกอบด้วย ผู้สัมภาษณ์ ผู้ถูกสัมภาษณ์ ผู้จดประเด็นและให้ข้อสังเกต กรณีที่มีกลุ่มแบบ 4 คน ให้สัมภาษณ์เป็นคู่ โดยผู้เรียนที่รับบทบาทเป็นผู้สัมภาษณ์ จะทำต้องจดประเด็นและให้ข้อสังเกตด้วย
    1. ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนศึกษาบทบาทของตนเอง โดยผู้สอนควรมีเอกสารหรือสื่อวิดีทัศน์แนะนำสั้นๆ ให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจด้วยตนเอง

บทบาทของผู้สัมภาษณ์ เช่น ตั้งคำถามหลักที่เกี่ยวข้องประเด็นการสัมภาษณ์ สังเกตการตอบสนองของผู้ถูกสัมภาษณ์ ตั้งคำถามรองหรือคำถามเชิงลึกเพื่อกระตุ้นให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถาม เป็นต้น

บทบาทของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น วิเคราะห์และทวนความเข้าใจเกี่ยวกับคำถาม ไตร่ตรองข้อมูลที่จะใช้เป็นคำตอบ ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา กรณีที่ไม่สามารถตอบได้ อาจเลี่ยงการตอบ เลือกไม่ตอบ หรือให้ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามใหม่ เป็นต้น

บทบาทของผู้จดบันทึกและให้ข้อสังเกต เช่น สังเกตพฤติกรรมการตั้งคำถาม การตอบคำถาม และบันทึกข้อมูลตามที่สังเกต โดยไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป และเมื่อต้องให้ข้อสังเกต ต้องให้ข้อสังเกตที่กระบวนการสัมภาษณ์ไม่ใช่คุณลักษณะส่วนตัวของบุคคล เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 การสัมภาษณ์

  • ผู้สอนแจ้งประเด็นการสัมภาษณ์ให้ผู้เรียนทราบโดยทั่วกัน และประกาศเตือนอีกครั้ง ผ่านไลน์กลุ่มของห้องเรียน หรือโพสต์ประกาศของห้องเรียนออนไลน์
    • 3 ภายใต้ประเด็นการสัมภาษณ์ที่กำหนด

ขั้นตอนที่ 1 ผู้เรียนคนที่ 1 รับบทบาทเป็นผู้สัมภาษณ์ ผู้เรียนคนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2 ผู้เรียนคนที่ 2 รับบทบาทเป็นผู้สัมภาษณ์ ผู้เรียนคนที่ 1

ขั้นตอนที่ 3 ผู้เรียนคนที่ 3 รับบทบาทเป็นผู้จดประเด็นและให้ข้อสังเกต

  • โดยให้เวลาผู้เรียนเตรียมคำถาม 2-3 นาที เวลาสำหรับการสัมภาษณ์ 3-5 นาที และเวลาสำหรับการให้ข้อสังเกต 2-3 นาที โดยผู้สอนสามารถปรับเวลาการสัมภาษณ์ได้ตามความซับซ้อนหรือความยากง่ายของประเด็นการสัมภาษณ์ ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนในการสัมภาษณ์
  • ผู้สอนสุ่มเข้าห้อง Breakout Room เพื่อสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่แทรกระหว่างกิจกรรม

ขั้นตอนที่ 3 การสรุปประเด็นการเรียนรู้

  • ผู้สอนให้ตัวแทนกลุ่มเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในห้อง Breakout Room ของตน และข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์
    • ผู้สอนเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ (การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การให้ข้อสังเกต) กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา และเชื่อมโยงข้อค้นพบกับเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพิ่มเติมประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจหรือยังเข้าใจไม่ครอบคลุม

การประเมินผล

          ผู้สอน สามารถประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้จากการสังเกตการมีส่วนร่วมในการตั้งคำถาม การตอบคำถาม การจดบันทึกและให้ข้อสังเกต และสามารถประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้จากคุณภาพของข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์ภายในกลุ่ม

          ผู้เรียน ทำการสะท้อนคิดการเรียนรู้ (Reflection) ในประเด็นสำคัญ เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ทักษะที่ได้รับจากกิจกรรม แนวทางการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ เป็นต้น และสามารถให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินสมาชิกภายในกลุ่มตามเกณฑ์ประเมินที่กำหนดได้

  • ข้อสังเกต

          การเรียนรู้ด้วยการสัมภาษณ์แบบ 3 ขั้นตอน (Three Step Interviews) ต้องอาศัยการผสมผสานเทคนิคการสอนระหว่างการแสดงบทบาทสมมติกับการอภิปรายเข้าด้วยกัน ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตหรือประเด็นการสัมภาษณ์และบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน และมีควรช่วงเวลาให้ผู้เรียนได้ปรับตัวในช่วงแรกของการเข้าห้อง Breakout Room เนื่องจากเป็นการสุ่มผู้เรียนที่อาจไม่รู้จักหรือสนิทสนมกันมาก่อน อีกทั้งผู้สอนควรบันทึกการแสดงบทบาทหรือหลักฐานการจดบันทึกในระหว่างการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้กลับมาทบทวนตนเอง

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

การวัดผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง