Digital Tools

Case studies

การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา

  • นิยามและความสำคัญ

การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) เป็นเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์สมมติหรือเหตุการณ์ที่มีเค้าโครงจากเรื่องจริงกับความรู้หรือทักษะที่ได้เรียนรู้ในรายวิชา โดยมีการกำหนดประเด็นคำถามเกี่ยวกับกรณีศึกษาและองค์ความรู้ที่ต้องนำมาใช้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีการจำกัดคำตอบที่ถูกผิดหรือคำตอบที่แน่นอนเพียงคำตอบเดียว

การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการอภิปรายสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น ได้สังเคราะห์และประเมินแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์สมมติอย่างมีหลักการ ได้พัฒนามุมมองความคิดของตนเองจากการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดของผู้อื่น อีกทั้งช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์คำตอบที่หลากหลายได้ ทำให้ผู้เรียนกล้าคิดกล้าเปิดเผยมุมมองของตนเอง

  • กระบวนการจัดการเรียนรู้

การเตรียมความพร้อม

          ผู้สอน

  1. ผู้สอนเตรียมกรณีศึกษาที่ความขัดแย้งหรือคลุมเครือ มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ทั้งนี้หากผู้สอนจะใช้กรณีศึกษาที่เป็นเหตุการณ์จริง เช่น ข่าว เพลง ภาพยนตร์ หรือให้ผู้เรียนได้เขียนเล่ากรณีศึกษาของตนเอง ทั้งนี้ผู้สอนควรพิจารณาถึงความถูกต้อง ความทันสมัยของข้อมูล และมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างชัดเจน
  2. ผู้สอนเตรียมประเด็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบ กำหนดขอบเขตขององค์ความรู้ที่จะนำมาใช้ในการพิจารณากรณีศึกษา และกำหนดรูปแบบการอภิปรายกรณีศึกษา เช่น รายบุคคล รายคู่ รายกลุ่มย่อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเหตุการณ์และความยากง่ายในการค้นหาคำตอบ
  3. กรณีผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนตอบคำถามแบบกลุ่ม ผู้สอนเตรียม Breakout Room เพื่อเป็นช่องทางการประชุมปรึกษาหารือของผู้เรียน

          ผู้เรียน

  1. ผู้สอนให้ผู้เรียนทบทวนประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้
  2. กรณีผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนตอบคำถามแบบกลุ่ม ผู้สอนให้ผู้เรียนรวมกลุ่มตามความสมัครใจ โดยมีเงื่อนไขจำนวนสมาชิกในกลุ่มต้องสอดคล้องกับความซับซ้อนของกรณีศึกษาและระยะเวลาในการอภิปราย

          การจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 1 การนำเสนอกรณีศึกษา

  1. ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะกิจกรรม ระยะเวลาในการทำกิจกรรม เกณฑ์การให้คะแนน และซักถามความเข้าใจของผู้เรียน
    1. ผู้สอนนำเสนอกรณีศึกษาแก่ผู้เรียน โดยอาจใช้วิธีการเล่าเรื่อง การให้ผู้เรียนอ่านจากเอกสาร ดูจากวีดิโอคลิป ฟังจากไฟล์เสียง หรืออาจให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมติ เพื่อให้ผู้เรียนสนใจและมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการคิดหาคำตอบ

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษากรณีศึกษาและอภิปราย

  • จากนั้นคิดหาคำตอบที่หลากหลายและมีความเหมาะสมกับกรณีศึกษา โดยใช้ความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้ หรือบูรณาการความรู้จากศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
    • โดยผู้สอนเน้นย้ำกับผู้เรียนว่า การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาไม่ได้มุ่งหาคำตอบที่ถูกผิดเพียงคำตอบเดียว แต่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มุมมองและเหตุผลที่หลากหลายจากผู้เรียนคนอื่นๆ
    • โดยอาจเป็นการนำเสนอด้วยการพูด การพิมพ์ข้อความ จัดทำเป็นแผนภาพ หรือจัดทำเป็นวีดิทัศน์ ซึ่งควรเป็นรูปแบบและช่องทางที่ผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ สามารถเข้าถึงคำตอบได้

ขั้นตอนที่ 3 การสรุปประเด็นสำคัญของกรณีศึกษา

  • ผู้สอนรวบรวมคำตอบของผู้เรียน และหยิบยกคำตอบหรือเหตุผลที่น่าสนใจของผู้เรียนขึ้นมาอภิปรายร่วมกับผู้เรียน เพื่อสรุปและสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ร่วมกัน
    • ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา และเพิ่มเติมประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจหรือยังเข้าใจไม่ครอบคลุม

การประเมินผล

          ผู้สอน สามารถประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ได้หลายมิติ เช่น การมีส่วนร่วมในการอภิปรายกรณีศึกษา ความหลากหลายและความเป็นเหตุเป็นผลของคำตอบ การเชื่อมโยงความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้กับกรณีศึกษา เป็นต้น

          ผู้เรียน ตรวจสอบคำตอบของตนเอง โดยเทียบกับคำตอบของเพื่อน เพื่อให้เห็นจุดเหมือน จุดต่าง และเป็นข้อมูลประกอบการเรียนรู้เพิ่มเติม และสามารถให้ผู้เรียนทำการสะท้อนคิดการเรียนรู้ (Reflection) ในประเด็นสำคัญ เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา ทักษะที่ได้รับจากกิจกรรม แนวทางการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ เป็นต้น

  • ข้อสังเกต

          การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา (Case studies) ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะนำมาเชื่อมโยงกับกรณีศึกษา ต้องอาศัยประสบการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษา หากผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างหรือหลากหลาย อาจทำให้การเรียนรู้ไม่กว้างขวางหรือไม่ได้มุมมองที่รอบด้านอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องสังเกตการวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษาของผู้เรียน เพื่อชี้ชวนหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนตามความจำเป็น และกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้และประสบการณ์ของตนเองมาใช้ประโยชน์ต่อกรณีศึกษา

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

การวัดผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง